วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

จัดทำโดย
ด.ช.ภานุวัตร สรสิทธิ์ ชั้นม.2/1 เลขที่24
เเละ
ด.ช.กฤษฏา ทองมา ชั้นม.2/1 เลขที่2


1.ลดการใช่เเอร์

          บ้านไหนที่มีแอร์ก็ควรเปิดใช้แอร์เท่าที่จำเป็น เช่น เปิดในวันที่รู้สึกร้อนมากจริง ๆ อีกทั้งควรเปิดแอร์ในอุณภูมิที่พอเหมาะ โดยเปิดแอร์ที่ 25 องศาก็พอ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่นอนไม่หลับหากไม่เปิดแอร์ ก็เปลี่ยนมาเปิดแอร์ช่วง 1- 2 ชั่วโมงแรกก่อนจะนอนหลับก็ได้ ตั้งเวลาปิดแอร์เอาไว้ให้เรียบร้อย และอย่าลืมสำรวจประตูหน้าต่าง และช่องโหว่ทุกช่องในห้องนอนก่อนด้วย เพียงแค่นี้ก็ช่วยประหยัดไฟได้เยอะแล้วล่ะ


2.ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้งาน

 หลายคนชอบเปิดไฟทั่วบ้าน เพราะอยากให้บ้านดูสว่างไสว แต่หากได้เห็นบิลค่าไฟตอนสิ้นเดือนแล้วก็คงตกใจน่าดูใช่ไหมล่ะ ฉะนั้นก็ปิดไฟดวงที่ไม่ได้ใช้งานจะดีกว่า แล้วออกจากบ้านทุกครั้งก็ควรเดินสำรวจให้รอบบ้านด้วยว่า มีไฟดวงไหนที่เปิดค้างอยู่หรือเปล่า ค่าไฟในบ้านจะได้ไม่พุ่งสูงมากนัก



3.ถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน

 เพียงแค่ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นการตัดกระแสไฟเลยซะทีเดียว เพราะตราบใดที่ปลั๊กยังเสียบอยู่กับเต้ารับ ตราบนั้นก็ยังคงมีกระแสไฟไหลวนเพื่อให้คุณเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดย ทันที โดยเฉพาะคนที่ชอบเปิดโหมดพักหน้าจอคอมพิวเตอร์ไว้เอา เพียงแค่ 1 ชั่วโมงก็สูญเสียกระแสไฟไปไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไรแล้วนะจ๊ะ และในเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็ควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานออกทุกครั้งด้วยจะดีที่สุด

4.ใช้หลอดไฟฟลูออเอสเซ้นส์

 หลอดไฟฟลูออเรสเซ้นส์มีราคาแพงกว่าหลอดไฟชนิดอื่นก็จริง แต่หลอดไฟฟลูออเรสเซ้นส์สามารถช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าหลอดไฟชนิดอื่นถึง 75% เลยทีเดียว แถมยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีความทนทานมากพอสมควรเลยด้วยนะ อย่างนี้ก็รู้แล้วใช่ไหมล่ะว่า ควรต้องเลือกใช้ไฟแบบไหนถึงจะประหยัดไฟ และคุ้มค่าเม็ดเงินมากกว่า

5.ใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคให้น้อยลง


บรรดาเครื่องปั่น เตาไมโครเวฟ กระทะไฟฟ้า รวมไปถึงเตาอบ จัดว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทฟุ่มเฟือย ที่กินไฟฟ้าไม่น้อยเลยทีเดียว ฉะนั้นหากเป็นไปได้ลองลดความถี่การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ดู แล้วมาเปรียบเทียบจากค่าไฟปลายเดือนกันดีกว่า